The Return of Wanthong
Synopsis
ละครเวทีแนวผสมผสานข้ามขนบ จากวรรณกรรมคลาสสิก“ขุนช้างขุนแผน”สะท้อนชีวิตไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาในสมัยอยุธยา ที่สรรค์สร้างโดยประชาชน ศิลปิน และราชสำนัก สืบเนื่องยาวนานหลายร้อยปี สู่ละครเวทีร่วมสมัย เล่าผ่านกลอนเสภาหลากสำนวน บทเพลงโบราณและดนตรีไทยที่เรียบเรียงใหม่ผสานดนตรีตะวันตก
ละครนำเสนอเรื่องราวความทรงจำของจมื่นไวยวรนาถผู้เผชิญหน้าปีศาจนางวันทอง
มารดาผู้ล่วงลับในระหว่างยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ บางสิ่งไม่อาจลบหายไปจากจิตใจได้ ทำให้เขาต้องกลับมาพบกับวิญญาณนางวันทองอีกครั้งแม้เวลาจะล่วงเลย การกลับมาอีกครั้งของนางวันทองจะเปลี่ยนความทรงจำเกี่ยวกับเธอไปอย่างไร
Playwright Note
เป็นบทละครเรื่องแรกที่สร้างสรรค์ขึ้นหลังจากออกจากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) โดยจัดแสดงครั้งแรกในส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “Re-Read Khun Chang Khun Phan”
ที่ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน กลางปี 2554 ตอนนั้นยังไม่มีชื่อคณะละคร ครั้นก่อตั้งคณะละคร อนัตตา ในปี2555 ได้นำบทละครเรื่องนี้มาเล่นเป็นปฐมฤกษ์ในเทศกาลละครกรุงเทพ 2555 ที่บลูบ๊อกซ์เธียเตอร์ แล้วพัฒนาเพื่อแสดงอีกหลายครั้ง ได้แก่ ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ ประสานมิตร และที่เทศกาลละครมหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2555, ที่ศูนย์ศิลปะ สดใส พันธุโกมล จุฬาฯ ในเทศกาล Our Roots Right Now ปี 2556, และที่ทองหล่อ อาร์ต สเปซ ปี 2561
ในการแสดงครั้งแรก ศ.ดร เจตนา นาควัชระ ได้กรุณาให้คำวินิจฉัยไว้ว่า “ละครเรื่องนี้คือหมุดหมายอันสำคัญของวงการละครร่วมสมัยของไทย” ซึ่งเป็นกำลังใจต่อผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องกลับมาทบทวนว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้บทละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นเพราะบทละครดัดแปลงมาจากบทเสภาหลากหลายสำนวนซึ่งแต่งโดยผู้แต่งหลายคน ต่างยุคสมัย และแม้ไม่ได้แต่งตามลำดับเวลาแต่กลับมีโครงเรื่องที่เข้มแข็ง และการได้แสดงซ้ำๆหลายครั้งในเวลาต่อเนื่องกันบทละครเรื่องนี้จึงมีพัฒนาการเร็ว และพบว่าการนำกลับมาทำอีกครั้งในปี 2561 ซึ่งห่างจากการเล่นครั้งล่าสุดเมื่อปี2556 ถึง 5 ปี ทำให้เห็นการเติบโตของทิศทางการกำกับ ชิ้นงาน ทีมงานได้ชัดเจน ในด้านการกำกับนั้นอาจกล่าวได้ว่าการแสดงต้นฉบับนั้นเข้าที่เข้าทางจนเป็นที่ชื่นชอบต่อผู้ชมแล้ว แต่การเปลี่ยนตัวพระเอกวัยหนุ่มในการแสดงครั้งสุดท้ายในปี2561 นั้นทำให้เจอส่วนประกอบใหม่ที่ให้รสชาติอีกแบบ รวมทั้งการเรียบเรียงดนตรี และการออกแบบการขับร้องของมวลหมู่นั้นลงตัวยิ่งขึ้นไปอีก
และอาจเป็นเพราะต้นเรื่องนั้นมาจากวรรณคดีคลาสสิคที่อยู่เหนือกาลเวลา ทำให้บทละครเรื่องนี้ยังคงจัดแสดงได้เสมอโดยไม่ต้องยึดโยงกับสถานการณ์ทางสังคมในขณะนั้น หากแต่การจัดแสดงในครั้งหลังๆ ที่ผ่านมานั้น สถานการณ์ทางสังคมและการเมือง มีผลต่อการตีความของการแสดงและการรับชมอยู่ค่อนข้างสูง ถึงแม้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบทเลยก็ตาม
Reviews
01 : กลับมาเถิดวันทอง - การประกอบสร้างภาพลักษณ์ของนางวันทองขึ้นใหม่ / Foyfon Chaimongkol 2012
02 : คนดลใจ / หนานเกียรติ์ 2012
03 : Sympathy for Wanthong / Pawit Mahasarinand 2011
04 : ทำไมวันทองตายแล้วต้องเป็นเปรต / ขวัญชนก พีระปกรณ์ 2011
05 : The Return of Wanthong / KCPK 2011
06 : เมื่อวันทองตาย..ทำไมต้องกลายเป็นเปรต / อภิรักษ์ ชัยปัยหา 2011
07 : เมื่อเปรตวันทอง...ท้าทายศรัทธาและทวงถามความจริง / Joe Pluemjit 2018
08 : ละครเวทีที่วิพากษ์โลกทัศน์ความเป็นไทย / Pitirach Joochoy 2018
09 : หากเราเป็นนางวันทองจะตัดสินใจเลือกใคร / Chiraporn Siridhara 2018
10 : ละครร้องร่วมสมัยแนวผสมผสานข้ามขนบ "วันทอง"/ สุกัญญา สมไพบูลย์ 2018
Cast & Crews
The Return of Wanthong 2011
วันที่ : 28-29 พฤษภาคม 2554
สถานที่ : หอศิลป์พิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สัน ในนิทรรศการ Reread KhunChang-KhunPhan
นักแสดง
ดวงใจ หิรัญศรี ( วันทอง )
ประดิษฐ ประสาททอง ( พระไวย )
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ ( พระไวยหนุ่ม )
ลูกคู่
นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ ( ลูกคู่ )
เสาวณีย์ วงศ์จินดา ( ลูกคู่ )
บุญสืบ พันธ์ประเสริฐ ( ลูกคู่ )
นักดนตรี
พรชนก กาญจนพังคะ ( เปียโน )
นิธิ จันทร์ธนู ( ฆ้องวง )
พัทธนันท์ อภิวิชญ์กุลธัช ( ซออู้ )
บทละครและกำกับการแสดง
ประดิษฐ ประสาททอง
เรียบเรีงดนตรี
พรชนก กาญจนพังคะ
กำกับเทคนิค
ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ประดิษฐ ประสาททอง
ออกแบบทรงผมและแต่งหน้า
วัชรพงษ์ สูงปานเขา
The Return of Wanthong 2012
วันที่ : 22-26, 29 ก.พ., 1-4 มี.ค. 2555
สถานที่ : BlueBox Studio
ใน เทศกาลละครกรุงเทพ 2555
วันที่ : 14-18 พฤศจิกายน 2555
สถานที่ : หอศิลปกรรมศาสตร์ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
วันที่ : 20 พฤศจิกายน 2555
ในเทศกาล ดนตรีและการแสดงมหาวิทยาลัยบูรพา 2012
วันที่ : 26-27 มกราคม 2556
สถานที่ : ศูนย์ศิลปะสดใสพันธุโกมล จุฬาฯ
ในเทศกาล Our Roots Right Now 2013
นักแสดง
ดวงใจ หิรัญศรี ( วันทอง )
ประดิษฐ ประสาททอง ( พระไวย )
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ ( พระไวยหนุ่ม )
ลูกคู่
กนกวรรณ ไชยพงศ์ ( ลูกคู่ )
ณิชาภา สะเอียบคง ( ลูกคู่ )
เสาวนีย์ วงศ์จินดา ( ลูกคู่ )
มณีรัตน์ สิงหนาท ( ลูกคู่ )
ธนสัน นุชมาก ( ลูกคู่ )
สาธิต ทะนงศักดิ์ศรีกุล ( ลูกคู่ )
บุญสืบ พันธ์ประเสิรฐ ( ลูกคู่ )
นักดนตรี
กรธิดา โฆตะวาณิชย์( เปียโน )
นิธิ จันทร์ธนู ( ฆ้องวง )
ทรงศักดิ์ งามศรี ( ฟลุท )
ธีรศักดิ์ พรรณรายน์ ( เชลโล่ )
อำนวยการผลิต
รวีภัทร์ จงไพบูลย์กิจ
บทละครและกำกับการแสดง
ประดิษฐ ประสาททอง
เรียบเรียงดนตรี
คานธี อนันตการ
กำกับเทคนิค
ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
กำกับเวที
อนุช เพชรรัตน์
ควบคุมแสง
กรชัย มีวงศ์
ฉันทิกา โชติขจรไทย
ควบคุมเสียง
กล้าธนัท นาคเกตุ
ชาตรี ตั้งวงษ์พิมุข
ออกแบบทรงผมและแต่งหน้า
วัชรพงษ์ สูงปานเขา
ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ประดิษฐ ประสาททอง
ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
Sunbrownstudio
ถ่ายภาพ
เดชา เข็มทอง
ฮาเมอร์ ซาลวาลา
The Return of Wanthong 2018
วันที่ : 12-23 กันยายน 2561
สถานที่ : ทองหล่ออาร์ตเสปซ
นักแสดง
ดวงใจ หิรัญศรี ( วันทอง )
ประดิษฐ ประสาททอง ( พระไวย )
วิศรุต หิมรัตน์ ( พระไวยหนุ่ม )
ลูกคู่
พิรุฬห์ลักษณ์ แจ่มอำพร ( ลูกคู่ )
นิชาภา สะเอียบคง ( ลูกคู่ )
วิศรุต สมงาม ( ลูกคู่ )
อดุลยรัศมิ์ สุวรรณจักรา ( ลูกคู่ )
นักดนตรี
โสภณัฐ ฤกษ์สมุทร ( เปียโน )
เสาวคล ม่วงครวญ ( เชลโล่ )
คานธี วสุวิชยกิต ( ฟลุท )
นิธิ จันทรธนู (ฆ้องวงและเครื่องจังหวะไทย )
อำนวยการผลิต
ดวงใจ หิรัญศรี
บทละครและกำกับการแสดง
ประดิษฐ ประสาททอง
เรียบเรียงดนตรี
คานธี วสุวิชย์กิต
กำกับเทคนิค
ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
ผู้ช่วยกำกับเทคนิค
กรชัย มีวงศ์
ออกแบบและควบคุมแสง
ปาลิตา สกุลชัยวาณิช
ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ประดิษฐ ประสาททอง
แต่งหน้า
ปุณิกา หรั่งฉายา
ถ่ายภาพ
ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์
มัลติมีเดีย
นิเวศน์ แววสมณะ
ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
ชนิดา ปัญญาเนรมิตดี
ฉายคำบรรยาย
ณัฐฐาพิรุฬห์ แจ่มอำพร
ฝ่ายจัดการและบัตร
กมลศรี ลิขิตประกายรุ้ง