มังกรสลัดเกล็ด
Dragon's Heart
Synopsis
ละครร้องจากแรงบันดาลใจในชีวิตและอุดมการณ์ของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในปัญญาชนสยาม ผู้มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม ประชาธิปไตย สันติประชาธรรม และการพัฒนาชนบท ผู้ที่ได้รับขนานนามว่า “คนตรงในประเทศคด”
Playwright Note
เริ่มจากวันหนึ่งในปี 2556 อ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ได้เรียกตัวไปพบที่บ้านย่านบางรัก เพื่อมอบหมายให้ผมสร้างสรรค์ละครเพื่อแสดงในวาระ 100 ปี ชาตะกาล ป๋วย อี๊งภากรณ์ ที่จะมาถึงในปี 2559 ผมจึงเริ่มสัมภาษณ์ผู้คนที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลสร้างเป็นบทละคร อาทิ
อ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อ.จอน อึ๊งภากรณ์(บุตรชายของ อ ป๋วย) และคุณบุญส่ง (น้องชายของ อ ป๋วย) ซึ่งต้องขอกราบขอบพระคุณทุกๆท่านไว้ ณ ที่นี้
ผมทดลองสร้างละครร้องฉากสั้นๆ เล่าเรื่องราวชีวิตในวัยเยาว์ของ อ.ป๋วย ในรูปแบบละครร้องยุคต้นๆ ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ ตีกรับ รับด้วยลูกคู่ ใช้ชื่อเรื่อง “มังกรสลัดเกล็ด ปฐมวัย” แสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ ปี 2556 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และต่อมาในงาน 10 ปีศิลปาธร ที่โรงละครช้าง ในต้นปี2557
จากนั้นจึงพัฒนาบทละครเต็มเรื่องความยาว 3 ชั่วโมงและจัดแสดง 5 รอบ ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2558 โดยมีสมาคมเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ การแสดงครั้งนั้นประสบปัญหาอุปสรรคในด้านเทคนิกมากมาย โดยเฉพาะระหว่างการเข้าซ้อมในเวทีจริงได้มีทายาทของบุคคลที่ถูกพาดพิงในเรื่องมาวิพากษ์วิจารณ์รวมถึงขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขบทละครบางส่วนกับผู้จัด และด้วยความกรุณาของ ดร ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ได้เมตตาแนะนำว่า โดยทางมานุษยวิทยาแล้ว การสร้างสรรค์ละครที่อิงข้อมูลบุคคลจริงนั้นจำเป็นต้องเคารพความคิดเห็นและความรู้สึกของบุคคลและทายาทที่ถูกอ้างถึงเป็นสำคัญ ผมจึงยินดีน้อมรับคำท้วงติง ยอมปรับบทละคร ยอมตัดทอนบางวรรคบางประโยค ปรับวีธีการแสดงในช่วงเวลาอันแสนสั้น ทั้งนี้ต้องหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะมีต่อลำดับการแสดง ลำดับเพลง ลำดับการเปลี่ยนเสื้อผ้า ลำดับการเปลี่ยนฉากและแสงซึ่งยากต่อการเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหันเนื่องด้วยเป็นงานขนาดใหญ่ที่เกี่ยวพันกันหลายฝ่าย จึงทำให้การแสดงในครั้งนั้นขาดๆเกินๆไม่สมบูรณ์ดังที่ตั้งใจไว้ และถึงแม้จะได้รับผลตอบรับที่น่าพึงพอใจจากนักวิจารณ์จนถึงขั้นได้รับรางวัลบทละครเพลงยอดเยี่ยม Best Book of a Musical 2015 จากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงนานาชาติ แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่สู้พึงพอใจกับบทละครในร่างนี้เท่าไรนัก
ในปีถัดมาคือ 2559 ผมจึงปรับปรุงบทและการแสดงละครเรื่องนี้ให้มีขนาดย่อมลง และจัดแสดงอีก 20 รอบ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีผู้ชมรอบละ 200 คน รวมแล้วมีผู้ชมในครั้งนั้นถึง 4,000 คน
“มังกรสลัดเกล็ด” นำมาแสดงอีกครั้ง ที่หอประชุมโรงเรียนมัธยมสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในต้นปี 2561 อีก 5 รอบด้วยกัน และครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความลงตัวที่สุดของบทละครและการกำกับฯ
ละครเรื่องนี้นับเป็นผลงานมีพัฒนาการต่อเนื่องยาวนานถึง 5 ปี เป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของคณะละครอนัตตา ทั้งในแง่จำนวนรอบการแสดง จำนวนผู้ชม จำนวนรายได้ และรางวัลที่ได้รับ แต่เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากได้นำเสนอเรื่องราวของปุถุชนผู้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศชาติแล้ว ที่สุดของความภาคภูมิใจคือได้มีโอกาสนำเสนอฉากเหตุการณ์ 6 ตุลาคน 2519 บนเวทีศูนย์วัมนธรรมแห่งประเทศไทยต่อหน้าผู้ชมนับหมื่นในวันเวลาที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.) อีกด้วย
Reviews
01 : มังกรสลัดเกล็ด: หัวเลี้ยวของละครไทยร่วมสมัย / อ.เจตนา นาควัชระ 2015
02 : ความเห็นของสองแง่มุม / Kong Chayapong 2015
03 : จะเป็นอะไรก็เป็นไป เเต่ต้องเป็นตัวของตัวเอง / Kruple Sudaratn Srisurakarnt 2016
04 : แม้ว่านี่จะไม่ใช่เวอร์ชั่นที่ชอบที่สุด แต่กลับเป็นเวอร์ชั่นที่อิมแพคที่สุด / นัสลี ละบายดีมัญ 2016
Cast & Crews
มังกรสลัดเกล็ด เดอะ มิวสิคัล 2015
Dragon's Heart the Musical
วันที่ : 29-31 พฤษภาคม 2558
สถานที่ : หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม
มังกรสลัดเกล็ด(ฉบับพิเศษ) 2016
Dragon's Heart(Special Edition)
วันที่ : 18 สิงหาคม - 4 กันยายน 2559
สถานที่ : สตูดิโอ ชั้น4 หอศิลป์กรุงเทพ
มังกรสลัดเกล็ด
Dragon’s Heart RETURNS 2018
วันที่ : 22-25 มีนาคม 2561
สถานที่ : หอประชุม
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นักแสดง
สุประวัติ ปัทมสูตร (ป๋วยชรา)
นาวิน เยาวพลกุล (ป๋วยกลางคน)
กรกัณฑ์ สุทธิโกเศศ (ป๋วยหนุ่ม)
มนทกานติ รังสิพราหมณกุล (มากาเร็ตชรา)
ดวงใจ หิรัญศรี ( มากาเร็ตกลางคน)
พริมรตา เดชอุดม (มากาเร็ตสาว)
ประดิษฐ ประสาททอง (พณ ท่าน)
สาวิตรี ศิริวุฒิ (ป้าชัยนาท)
เกรียงไกร ฟูเกษม (รมต.)
ดนย บุญทัศนกุล (พยับ, มวลหมู่)
สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ (ระพิณ, มวลหมู่)
จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ (อ่ำ, มวลหมู่)
นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ (เซาะเซ็ง, มวลหมู่)
จรรยา ธนาสว่างกุล (รำไพ58, มวลหมู่)
สุกัญญา สมไพบูลย์ (รำไพ15, มวลหมู่)
ผดุงพงศ์ ประสาททอง (อาแปะ, มวลหมู่)
ปิยะวิน พิชญังกูร (ปอนด์15, มวลหมู่ )
อดุลยรัศมิ์ สุวรรณจักรา (ปอนด์20, มวลหมู่ )
บุญสืบ พันธ์ประเสริฐ (มวลหมู่)
วิศรุต สมงาม (มวลหมู่)
ชนัตถ์ พงษ์พานิช (มวลหมู่)
บุริศร์ ไทยกุลภักดี (มวลหมู่)
พงษธริศ จันทรา (มวลหมู่)
สุรัตน์ แก้วศรีคราม(มวลหมู่)
ชลธิศ กรดี (มวลหมู่)
ศิรเมศร์ อัครภากุลเศรษฐ์ (มวลหมู่)
ณัฐชวิศร์ สันติวัฒนกุล(มวลหมู่)
อัศรัญ มะ (มวลหมู่)
รัตนินทร์ ใจเพชร (มวลหมู่)
เสาวนีย์ วงศ์จินดา (มวลหมู่)
ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์ (มวลหมู่)
ปวีณา เรือนอนุกูล (มวลหมู่)
นิชาภา สะเอียบคง (มวลหมู่)
ชลลดา ขันมณี (มวลหมู่)
พิรุฬห์ลักษณ์ แจ่มอำพร (มวลหมู่)
พิชญา ดังศิริแสงทอง (มวลหมู่)
รมิดา เจริญมาก (มวลหมู่)
ณัฐฐา ปลั่งอารีย์ (มวลหมู่)
อำนวยการผลิต
สวนีย์ อุทุมมา
บทละครและกำกับการแสดง
ประดิษฐ ประสาททอง
เรียบเรียงดนตรี
คานธี อนันตกาญจน์
ฝ่ายแสง
สุพัตรา เครือครองสุข
ฝ่ายเสียง
Spark House
ฝ่ายฉาก
สุรชัย เพชรแสงโรจน์ และทีม
ฝ่ายเสื้อผ้า
ณิชา บูรณสัมฤทธิ์ และทีม
ฝ่ายแต่งหน้า ทำผม
วัชรพงศ์ สูงปานเขา และทีม
ผู้ออกแบบลีลา
ธีระวัฒน์ มุลวิไล
ผู้ฝึกสอนการใช้เสียง
วิลาวัณย์ เรืองวราพิชญ์
ศิวกร กิตติวรกุล
ผู้จัดการโปรดัคชั่น
ดวงใจ หิรัญศรี
ทีมผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง
กมลศรี วิขิตประกายรุ้ง
ภิญญา จู่คำศรี
เสาวนีย์ วงศ์จินดา
ปาลิตา สกุลชัยวานิช
ลาภิณ เหล่าสุนทร
สวัสดิการ
คณิตตา แสงอุไร
ควบคุมคำบรรยาย
เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย
ควบคุมเสียงประกอบ
ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
นักแสดง
ภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (ป๋วย)
ธัญญรัตน์ ประดิษฐ์แท่น (มากาเร็ต)
ประดิษฐ ประสาททอง (ระพี)
สุขุมพันธ์ฐิติธนพันธ์ (ระพิน)
จรรยา ธนาสว่างกุล (เซาะเซ็ง)
สุกัญญา สมไพบูลย์ (แม่บ้าน)
ชลธิศ กรดี (ท่านประชา)
ศิรเมศร์ อัครภากุลเศรษฐ์ (นายตํารวจชั้นผู้ใหญ่)
อัศรัญ มะ (ระพีวัยหนุ่ม)
ชนัตถ์พงษ์พานิช (จอห์น)
บุริศร์ ไทยกุลภักดี (ปีเตอร์)
โกวิท วีรกิจมหานนท์ (ใจ)
พิรุฬห์ลักษณ์ แจ่มอําพร (นักศึกษา)
ชลลดา ขันมณี (นักศึกษา)
นักดนตรี
โสภณัฐ ฤกษ์สมุทร (เปียโน)
มัชฌาพร ยมนา (เปียโน)
กมล บูรณกุล (ไวโอลิน)
นิธิจันทรธนู (ขลุ่ย และเครื่องจังหวะไทย)
อำนวยการผลิต
ดวงใจ หิรัญศรี
บทละครและกำกับการแสดง
ประดิษฐ ประสาททอง
เรียบเรียงดนตรี/กำกับดนตรี
คานธี วสุวิชย์กิต
ผู้ออกแบบลีลา
ธีระวัฒน์ มุลวิไล
ผู้ฝึกสอนการใช้เสียง
วิลาวัณย์ เรืองวราพิชญ์
ศิวกร กิตติวรกุล
กำกับเทคนิค
ศรายุทธ เพชรสัมฤทธิ์
ผู้ออกแบบแสง
ทศพล วิพลกุล
ผู้ควบคุมแสง
ปาลิตา สกุลชัยวานิช
ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก
กรชัย มีวงศ์
ลาภิน เหล่าสุทร
กำกับเวที
กมลศรี ลิขิตประกายรุ้ง
ผู้ช่วยกํากับเวที
พรพิมล หล่อตระกูล
บูรฮันร์ ฮะซา
ศิวัช วิสุทธิรังษีอุไร
ออกแบบเสื้อผ้า
ณิชา บูรณะสัมฤทธิ์
อภิรัตน์ แก้วกัน
ทีมเสื้อผ้า
สิทธิ์ณัฐธร ฝั้นสีดา
อัญชสา อัครภา
แต่งหน้า
ปุณิกา หรั่งฉายา
ทำผม
ธงชัย แย้มนุกูลสม
พิตตินันท์ นามนวด
ช่างภาพ
อดิเดช ชัยวัฒนกุล
แปลบทเป็นภาษาอังกฤษ
ซลเทพ ณ บางช้าง
ควบคุมคําบรรยาย
รังสิมันต์ กิจชัยเจริญ
ประชาสัมพันธ์
พิไลพรรณ ธรรมมิตร
ออกแบบสิงพิมพ์
Sunbrown Studio